การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแผลเล็ก

การผ่าตัดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การผ่าตัดแนวใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือ "การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือ การผ่าตัดแผลเล็ก" เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่เปิดแผลขนาดเล็กเพื่อสอดเครื่องมือและกล้องเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการรักษาแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหาที่จะตามมาหลังการผ่าตัด อาทิเช่น การปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด ทานอาหารได้ช้า เคลื่อนไหวหรือลุกเดินได้ลำบาก ปอดแฟบ แผลแยก ไปจนถึงปัญหาระยะยาวเช่น การเกิดผังผืดหรือลำไส้อุดตัน Minimal Invasive Surgery [ MIS ] is the new era of surgery for patients and surgeons. The benefits of the minimal invasive surgery are far beyond the traditional surgery.

2/27/2557

ศิริราช ในวันนี้.......กับ ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

" The Arts of TLH with Positive Energy"
งานประชุมเกี่ยวกับ ทางเลือกและเครื่องมือใหม่ในการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง คงต้องยอมรับว่าการผ่าตัดทางนรีเวชมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมาก การผ่าตัดผ่านกล้องถือเป็นหนึ่งในการผ่าตัดที่หมอรุ่นใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้และตามให้ทัน เครื่องมือที่ดีทำให้การผ่าตัดในปัจจุบันง่ายและปลอดภัยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการฝึกฝนและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า ช่วยให้เราดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น
ขอบคุณ TG-MET center รพ.ศิริราช และ Dr. James Kondrup สำหรับความรู้ที่ยอดเยี่ยมในวันนี้





2/26/2557

ภาพวิดีโอการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษาถุงน้ำของปีกมดลูก

การผ่าตัดโรคของรังไข่หรือปีกมดลูกผ่านกล้อง
ได้กลายเป็นมาตราฐานในการรักษาโรคของปีกมดลูกและรังไข่
เนื่องจากการผ่าตัดผ่านกล้องช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ลดการเกิดแผลเป็น ลดการเกิดผังพืดในอุ้งเชิงกราน จึงลดปัญหาการมีบุตรยากรวมถึงปัญหาปวดท้องน้อยเรื้อรังอีกด้วย

ภาพแสดงมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่สองข้างในคนปกติ

ตัวอย่างภาพอัลตราซาวด์ช่องท้องพบถุงน้ำรังไข่


ชมวิดีโอ การผ่าตัดผ่านกล้องรักษาถุงน้ำรังไข่ ได้ที่

ความเป็นมาของการผ่าตัดผ่านกล้อง

ประวัติการผ่าตัดผ่านกล้อง


ผ่าตัดเสมือนไร้แผล-ตัดไส้ติ่ง 

Single Port Appendectomy
การผ่าตัดด้วยกล้อง มีวิวัฒนาการเริ่มต้นมาจาก  การใช้เครื่องมือใส่เข้าไปตรวจภายในช่องท้อง  โดยในปี  พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มีรายงานเริ่มต้นโดยการทดลองทำในสัตว์ก่อน ต่อมาได้มีรายงานการทำในมนุษย์  และการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ขึ้นมา ในระยะแรกการใช้กล้องยังไม่เป็นที่นิยมทำกันมากนัก  ส่วนใหญ่แล้วจะทำกันในด้านการวินิจฉัยโรค  หรือ การใช้กล้องเพื่อสำรวจช่องท้อง  ซึ่งต่อมาสูติแพทย์เป็นกลุ่มแรก  ที่นำมาใช้ในด้านการรักษา ได้แก่  การทำหมัน  ตัดถุงน้ำของรังไข่  เลาะพังผืด เป็นต้น  แต่ศัลยแพทย์ทั่วไปยังไม่ได้สนใจการผ่าตัดด้วยกล้อง   เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ  และอาจจะเป็นผลเสียต่อผู้ป่วย  เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีเดิมซึ่งมีมานานแล้วและศัลยแพทย์ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี     ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๙ ได้มีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น  โดยเฉพาะเครื่องมือที่เกี่ยวกับ  คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์  กล้องวีดีทัศน์  และ เครื่องมือที่ช่วยในการผ่าตัดด้วยกล้อง  จึงได้เริ่มมีผู้สนใจการผ่าตัดด้วยกล้องมากขึ้น  และในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้มีศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Mouret รายงานการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องสำเร็จเป็นครั้งแรก   ซึ่งหลังจากนั้นอีก ๒ ปี Dubois และคณะ จากประเทศฝรั่งเศส   รวมทั้ง Reddick และคณะ  จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงานผลการผ่าตัดในระยะแรก  ลงในวารสารทางการแพทย์เป็นครั้งแรก และต่อจากนั้นมา  การผ่าตัดด้วยกล้องก็เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว  ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป และกระจายไปทั่วโลก