การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแผลเล็ก

การผ่าตัดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การผ่าตัดแนวใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือ "การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือ การผ่าตัดแผลเล็ก" เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่เปิดแผลขนาดเล็กเพื่อสอดเครื่องมือและกล้องเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการรักษาแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหาที่จะตามมาหลังการผ่าตัด อาทิเช่น การปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด ทานอาหารได้ช้า เคลื่อนไหวหรือลุกเดินได้ลำบาก ปอดแฟบ แผลแยก ไปจนถึงปัญหาระยะยาวเช่น การเกิดผังผืดหรือลำไส้อุดตัน Minimal Invasive Surgery [ MIS ] is the new era of surgery for patients and surgeons. The benefits of the minimal invasive surgery are far beyond the traditional surgery.

3/31/2557

ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก….ตำแหน่งอื่นในร่างกายได้หรือไม่

การผ่าตัดผ่านกล้องโดยส่วนใหญ่จะหมายถึงการส่องกล้องเพื่อผ่าตัดโรคในช่องท้องเป็นหลัก
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การผ่าตัดผ่านกล้อง..แผลเล็ก สามารถทำได้ในส่วนอื่นๆของร่างกายด้วย
หนึ่งในนั้นที่เรารู้ ( มีในโพสต์ก่อนหน้านี้ ) คือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบไร้แผล ซึ่งผ่าตัดในช่องใต้ผิวหนังบริเวณเหนือไหปลาร้า เพื่อซ่อนไม่ให้มีแผลบริเวณลำคอ

กายวิภาคของปอด

การผ่าตัดผ่านกล้อง...แผลเล็ก ยังทำได้ใน ช่องปอด ได้ด้วย ดังนั้นโรคของปอดหลายๆโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัด
ก็สามารถเลือกเป็นผ่าตัดผ่านกล้องได้ ทำให้ลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดลงมาก รวมถึงลดปัญหาปอดแฟบที่เจอบ่อยหลังการผ่าตัดปอด คนไข้จึงฟื้นตัวเร็วและมีปัญหาแทรกซ้อนด้านการหายใจน้อย

การผ่าตัดผ่านกล้องในช่องปอด หรือ  VATS
สามารถทำได้ในโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้

โรคปอด
  • เนื้องอกในปอด เป็นการผ่าตัดปอดบางกลีบ หรือ เอาปอดออกทั้งข้าง เช่นในโรคมะเร็ง
  • โรคเนื้องอก หรือมะเร็งปอด
  • ถุงลมปอดโป่งพองเฉพาะที่
  • การติดเชื้อในช่องปอด เช่น ปอดอักเสบ ฝีในปอด
  • การตัดชิ้นเนื้อปอดเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยแยกโรค
  • การผ่าตัดเพื่อระบายน้ำในช่องปอด
รูปการผ่าตัดผ่านกล้องในช่องปอด เพื่อตัดถุงน้ำที่เยื่อหุ้มหัวใจ โดย นพ.จุมพต บ่อเกิด ศุนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่

โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ บางโรค เช่น ถุงน้ำที่เยื่อหุ้มหัวใจ [ Pericardial Cyst ]
โรคของต่อมไทมัส (ซึ่งอยู่ด้านหน้าของหัวใจ) เช่น เนื้องอกไทโมม่า
โรคของหลอดอาหาร
  • เนื้องอกของหลอดอาหาร
  • โรคหลอดอาหารตีบ หรือ หลอดอาหารส่วนปลายแคบ [ Achalasia ]
โรคเหงื่อออกมากผิดปกติที่ผ่ามือ และ รักแร้

การผ่าตัดปอดแบบมาตราฐานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการถ่างกระดูกซี่โครงออก
เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอที่จะผ่าตัด

แผลผ่าตัดช่องปอดแบบมาตราฐาน แผลยาวตลอดแนวซี่โครง
ดังนั้นการผ่าตัดผ่านกล้อง..แผลเล็ก ในช่องปอด ได้ช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายที่มีโรคบริเวณปอดและอวัยวะใกล้เคียงผ่านการผ่าตัดใหญ่ที่เคยดูอันตราย น่ากลัว มีภาวะแทรกซ้อนสูงรวมถึงเจ็บปวดมากไปได้อย่างราบรื่น.....


ถุงน้ำเยื่อหุ้มหัวใจหลังผ่าตัดผ่านกล้อง แผลเล็ก ในช่องปอด






3/24/2557

ผ่าตัดไทรอยด์แบบซ่อนแผล Endoscopic Thyroidectomy

ต่อมไทรอยด์ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆของร่างกายอาทิ เช่นการเจริญเติบโต ระบบการเผาผลาญอาหาร เป็นต้น
ตำแหน่งของไทรอยด์อยู่กึ่งกลางลำคอ บนกระดูกกล่องเสียง มีลักษณะคล้ายรูปผีเสื้อ แบ่งเป็นกลีบซ้ายและกลีบขวา

ตำแหน่งของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์

 เมื่อต่อมไทรอยด์เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอกหรือถุงน้ำ รวมถึงการอักเสบหรือมะเร็งของต่อมไทรอยด์  การผ่าตัดมาตราฐานจะลงมีดแนวขวาง เหนือตำแหน่งของต่อมไทรอยด์โดยตรงจึงทำให้เกิดรอยแผลที่เห็นได้ชัดเจน และมีโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นนูนหรือคีรอยด์ได้สูงมาก

รอยแผลหลังผ่าตัดไทรอยด์แบบมาตรฐาน
แผลเป็นซึ่งพบบ่อยหลังผ่าตัดไทรอยด์
ทางเลือกใหม่ในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์โดยซ่อนแผล หรือ Endoscopic Thyroidectomy
ทำโดยผ่าตัดผ่านกล้องโดยศัลยแพทย์จะสอดกล้องผ่านทางรักแร้เพื่อเลี่ยงการมีแผลเป็นบริเวณกลางลำคอ

ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ สังเกตุว่าไม่มีรอยผ่าตัดที่ลำคอ
แผลผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง Endoscopic Thyroidectomy
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ก่อนผ่าตัด
Thyroid Nodule before Surgery
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์หลังการผ่าตัดผ่านกล้อง
 Thyroid Nodule post Endoscopic Thyroidectomy
 ในประเทศไทยเริ่มมีการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องในหลายสถาบันที่มีศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง รวมถึงศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
หากสนใจการผ่าตัดแบบนี้ อ่าน งานวิจัยการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องได้ที

หรือชมวิดีโอการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง Endoscopic Thyroidectomy ได้ที่

3/17/2557

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก Laparoscopic Sleeve Gastractomy

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก หรือ Bariatric Surgery ถือเป็นการรักษาที่ได้รับการยอมรับว่าช่วยรักษาโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกินมาตราฐานที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงแต่น้ำหนักตัวจะลดได้ถึง 30 % ยังช่วยลดโรคแทรกซ้อนต่างๆที่มาจากการอ้วน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคหัวใจ 


ชมวิดีโอการผ่าตัดกระเพาะอาหารผ่านกล้องของศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง



การเตรียมห้องผ่าตัดเพื่อการผ่าตัดผ่านกล้อง

การผ่าตัดผ่านกล้อง
มีอุปกรณ์เสริมมากมายหลายตัวที่แพทย์ผ่าตัดและทีมงานต้องเรียนรู้และจัดเตรียมให้พร้อมก่อนการผ่าตัด ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ห้องผ่าตัดอาจตื่นตกใจเล็กน้อยกับเครื่องมือเยอะแยะมากมายในห้อง
เริ่มตั้งแต่ 
ตัวอย่างห้องผ่าตัด
-ชุดอุปกรณ์กล้องได้แก่ จอทีวี ( ชนิดพิเศษที่มีความละเอียดสูง) 1-3 จอ อุปกรณ์และสายนำแสงสว่าง เครื่องบันทึกภาพ กล้องส่องและอุปกรณ์ประมวลภาพ
-ชุดอุปกรณ์สำหรับใส่ก็าซและปล่อยก็าซเข้าสู่ตำแหน่งที่ผ่าตัด เนื่องจากต้องใช้ก็าซเพื่อขยายให้มีพื่นที่เพียงพอในการมองเห็นและใส่เครื่องมือผ่าตัด
รูปตัวอย่างการจัดอุปกรณ์ในห้องผ่าตัดผ่านกล้อง
ส่วนที่เหลือก็เป็นชุดอุปกรณ์ผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดปลายเล็ก กว้างไม่เกิน 0.3 ถึง 1 เซนติเมตร แต่ยาวอย่างน้อย 30-45 เซนติเมตรเพื่อให้สอดผ่านเข้าสู่ร่างกายโดยมีแผลเล็กที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้เลยคืออุปกรณ์ที่ช่วยตัดและปิดเส้นเลือด ซึ่งจำเป็นมากในการทำให้การผ่าตัดผ่านกล้องหรือผ่าตัดแผลเล็กนี้ปลอดภัยกับผู้ป่วยเทียบเท่าการผ่าตัดมาตราฐานทั่วไป ซึ่งในระยะหลังพบว่าการผ่าตัดผ่านกล้องกลับมีโอกาสเสียเลือดน้อยลงกว่าการผ่าตัดแบบเดิมๆเสียอีก ทำให้ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่มองเห็นความสำคัญของการผ่าตัดแบบใหม่นี้เพิ่มมากขึ้น
บรรยากาศขณะเริ่มผ่าตัด




รูปตัวอย่างการส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี

3/13/2557

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone)

Q : ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร


A : ถุงน้ำดีคืออวัยวะหนึ่งของร่างกายมนุษย์ อยู่ใต้ตับ มีลักษณะเป็นถุงที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่สร้างมาจากตับ ก่อนปล่อยลงสู่ลำไส้เล็กเมื่อมีอาหารผ่านมา 
น้ำดีประกอบด้วยสารต่างๆอาทิเช่น คอเลสเตอรอล ( cholesterol )  บิลลิรูบิน ( billirubin ) เกลือน้ำดี ( bile salts ) เป็นต้น




Q : นิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstone ) เกิดขึ้นได้อย่างไร


A : นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการสะสมของน้ำดีที่ผิดปกติ โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี ดังนี้คือ
  1. พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี คุณก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
  2. ฮอร์โมนเอสโตเจน ดังนั้น ผู้หญิงจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าผู้ชาย รวมทั้งการใช้ยาคุมกำเนิดประเภทฮอร์โมนก็ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วมากขึ้นด้วย
  3. อ้วน
  4. อายุมากกว่า 55 ปี
  5. โรคเบาหวาน
  6. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
  7. การตั้งครรภ์
  8. โรคตับแข็ง
  9. อื่นๆ เช่น การทานยาที่ขับคอเรสเตอรอลทำให้มีคอเรสเตอรอลถูกขับออกมาจากตับมากขึ้น


Q : การมีนิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstone ) มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร


A : คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจยังไม่มีอาการใดๆเลยที่เรียกว่า " silent gallstone "
จนถึงมีอาการไม่สบายดังนี้
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในทางเดินอาหาร
  • อาหารไม่ย่อย
  • ปวดแสบ แน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หากเป็นมากขึ้นมักมีอาการปวดที่ท้องด้านขวาบน หรือปวดทะลุหลัง


Q : จะตรวจหานิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างไร

A : นิ่วในถุงน้ำดีสามารถตรวจพบได้ง่ายโดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการอัลตราซาวน์ช่องท้อง โดยการตรวจจะทำในขณะที่งดน้ำและอาหารมาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เป็นดีที่สุด



Q : หากตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีควรทำอย่างไร


A : ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิณปัจจัยเสี่ยง อาการ รวมถึงความจำเป็นในการรักษา 
 หากมีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยง ในวงการแพทย์สากลมักแนะนำให้ผ่าตัดรักษามากกว่าการติดตามดูอาการ หรือใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายเนื่องจากนิ่ว 


Q : แนวทางการรักษานิ่วในถุงน้ำดีปัจจุบันเป็นเช่นไร


A :การรักษานิ่วในถุงน้ำดีมักเป็นการรักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำดีออกไป ( Cholecystectomy )
 การผ่าตัดในปัจจุบันจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องหรือการผ่าตัดแผลเล็ก ( Laparoscopic Cholecystectomy ) มากกว่า 95 % เนื่องจากการผ่าตัดแบบใหม่นี้สะดวก ปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด และดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมมาก โดยลดความเจ็บปวดทรมาณจากแผลผ่าตัด ลดผลข้างเคียงและจำนวนวันพักในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆตามปกติได้ทันทีหลังจากออกจากโรงพยาบาล

Q : ผลกระทบจากการตัดถุงน้ำดี

A : จากรายงานการวิจัยพบว่าอาจมีอาการถ่ายบ่อยขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย โดยมักมีอาการในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดเท่านั้น ในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติไม่พบความแตกต่างหรือผลกระทบด้านอื่นๆในคนไข้ที่ผ่าตัดถุงน้ำดีมาก่อน


3/05/2557

"การใช้ single port ในการผ่าตัดไส้ติ่งแบบไร้แผล

ชมวิดีโอแสดงวิธีใส่ SILS Port เพื่อผ่าตัดแบบไร้แผลได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=4pUZ4TevzGk


ผ่าตัดแผลเล็ก หรือ เสมือนไร้แผล

ลิงค์ด้านบนเป็นวิดีโอแสดงวิธีใช้ single port แบบ SILS Port
ในการผ่าตัดรักษา " ไส้ติ่งอักเสบ"แบบเฉียบพลัน ( Acute Appendicitis )
ซึ่งเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแบบเสมือนไร้แผล หรือ ผ่าตัดไร้แผล
กล้องส่องช่องท้องรวมถึงเครื่องมือผ่าตัดทั้งหมดจะถูกสอดเข้าสู่ร่างกาย
จากตำแหน่งเดียวคือบริเวณสะดือเท่านั้น
เมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว รอยแผลจะหลบเข้าภายในสะดือ
ดูไม่ออกว่า ผู้ป่วยเคยผ่าตัดมาก่อนหน้านี้ 

ผ่าตัดไส้ติ่งแบบไร้แผล (เสมือนไร้แผล) Single Port Laparoscopic Appendectomy

สมัยก่อนเมื่อบังเอิญเป็น "ไส้ติ่งอักเสบ" 
เราก็เตรียมใจได้เลยว่าจะมีแผลยาว 5-10 เซนติเมตร
อยู่ด้านขวาของลำตัวใต้สะดือลงมาและคงอดเข้าประกวดนางงามหรือเป็นนางแบบชุดว่ายน้ำ
รวมถึงหมดสิทธิ์ใส่ชุดทูพีชหรือโชว์สะดือ
ตอนนี้สาวทั้งหลาย หมดกังวลได้เลยเพราะมีทางเลือกที่ไม่ต้องมีแผลกันอีก 
ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า " ผ่าตัดไส้ติ่งแบบไร้แผล" 
หรือ 
Single Port Laparoscopic Appendectomy 
รูปแสดงการผ่าตััดไส้ติ่งแบบไร้แผล จะมีจอแสดงภาพการผ่าตัดอยู่สองข้างลำตัวผูป่วย
เครื่องมือที่ใส่ในการผ่าตัดผ่านกล้อง
แผลบริเวณสะดือเมื่อผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย ก่อนปิดพลาสเตอร์
 ยืนยันว่าเสมือนไร้แผลจริงๆ





3/04/2557

ผ่าตัดแผลเล็ก VS ผ่าตัดเสมือนไร้แผล

การผ่าตัดแผลเล็ก
เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องเข้าไปในบริเวณที่จะผ่าตัดทดแทนการใช้มีดกรีดผิวหนังกว้างๆแบบเดิมๆซึ่งทำให้เกิดปัญหาปวดแผลมากหลังผ่าตัด รวมถึงปัญหาจิปาถะที่จะตามมาจากการที่มีแผลใหญ่ๆ เช่น ท้องอืด ปอดแฟบ ผังผืดในช่องท้อง ภาวะลำไส้อุดตัน ต้องหยุดงานเป็นเวลานานๆ ดังนั้นหลังผ่าตัดจะมีแผลเล็กๆขนาด 0.5 ถึง 1 เซนติเมตรบนผิวหนังเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวร่างกายได้ทันที ทานอาหารได้ และใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง
การผ่าตัดเสมือนไร้แผล
เป็นการผ่าตัดแผลเล็กที่เปิดแผลขนาด 2 เซนติเมตรที่สะดือเพียงจุดเดียวเพื่อสอดกล้องและเครื่องมือผ่าตัดเข้าไปในช่องเดียวกัน เมื่อแผลหายสะดือจะคืนรูปกลับไปดังเดิม จึงมองไม่เห็นแผลผ่าตัดอีกต่อไป สามารถทำได้ในหลายๆโรคในปัจจุปัน เช่น ไส้ติ่งอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ารังไข่ เป็นต้น