A : ถุงน้ำดีคืออวัยวะหนึ่งของร่างกายมนุษย์ อยู่ใต้ตับ มีลักษณะเป็นถุงที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่สร้างมาจากตับ ก่อนปล่อยลงสู่ลำไส้เล็กเมื่อมีอาหารผ่านมา
น้ำดีประกอบด้วยสารต่างๆอาทิเช่น คอเลสเตอรอล ( cholesterol ) บิลลิรูบิน ( billirubin ) เกลือน้ำดี ( bile salts ) เป็นต้น
A : นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการสะสมของน้ำดีที่ผิดปกติ โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี ดังนี้คือ
- พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี คุณก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
- ฮอร์โมนเอสโตเจน ดังนั้น ผู้หญิงจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าผู้ชาย รวมทั้งการใช้ยาคุมกำเนิดประเภทฮอร์โมนก็ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วมากขึ้นด้วย
- อ้วน
- อายุมากกว่า 55 ปี
- โรคเบาหวาน
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
- การตั้งครรภ์
- โรคตับแข็ง
- อื่นๆ เช่น การทานยาที่ขับคอเรสเตอรอลทำให้มีคอเรสเตอรอลถูกขับออกมาจากตับมากขึ้น
Q : การมีนิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstone ) มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
A : คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจยังไม่มีอาการใดๆเลยที่เรียกว่า " silent gallstone "
จนถึงมีอาการไม่สบายดังนี้
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในทางเดินอาหาร
- อาหารไม่ย่อย
- ปวดแสบ แน่นหน้าอก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- หากเป็นมากขึ้นมักมีอาการปวดที่ท้องด้านขวาบน หรือปวดทะลุหลัง
Q : จะตรวจหานิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างไร
A : นิ่วในถุงน้ำดีสามารถตรวจพบได้ง่ายโดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการอัลตราซาวน์ช่องท้อง โดยการตรวจจะทำในขณะที่งดน้ำและอาหารมาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เป็นดีที่สุด
A : ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิณปัจจัยเสี่ยง อาการ รวมถึงความจำเป็นในการรักษา
หากมีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยง ในวงการแพทย์สากลมักแนะนำให้ผ่าตัดรักษามากกว่าการติดตามดูอาการ หรือใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายเนื่องจากนิ่ว
Q : แนวทางการรักษานิ่วในถุงน้ำดีปัจจุบันเป็นเช่นไร
Q : แนวทางการรักษานิ่วในถุงน้ำดีปัจจุบันเป็นเช่นไร
A :การรักษานิ่วในถุงน้ำดีมักเป็นการรักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำดีออกไป ( Cholecystectomy )
การผ่าตัดในปัจจุบันจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องหรือการผ่าตัดแผลเล็ก ( Laparoscopic Cholecystectomy ) มากกว่า 95 % เนื่องจากการผ่าตัดแบบใหม่นี้สะดวก ปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด และดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมมาก โดยลดความเจ็บปวดทรมาณจากแผลผ่าตัด ลดผลข้างเคียงและจำนวนวันพักในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆตามปกติได้ทันทีหลังจากออกจากโรงพยาบาล
Q : ผลกระทบจากการตัดถุงน้ำดี
A : จากรายงานการวิจัยพบว่าอาจมีอาการถ่ายบ่อยขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย โดยมักมีอาการในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดเท่านั้น ในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติไม่พบความแตกต่างหรือผลกระทบด้านอื่นๆในคนไข้ที่ผ่าตัดถุงน้ำดีมาก่อน
การผ่าตัดในปัจจุบันจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องหรือการผ่าตัดแผลเล็ก ( Laparoscopic Cholecystectomy ) มากกว่า 95 % เนื่องจากการผ่าตัดแบบใหม่นี้สะดวก ปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด และดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมมาก โดยลดความเจ็บปวดทรมาณจากแผลผ่าตัด ลดผลข้างเคียงและจำนวนวันพักในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆตามปกติได้ทันทีหลังจากออกจากโรงพยาบาล
Q : ผลกระทบจากการตัดถุงน้ำดี
A : จากรายงานการวิจัยพบว่าอาจมีอาการถ่ายบ่อยขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย โดยมักมีอาการในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดเท่านั้น ในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติไม่พบความแตกต่างหรือผลกระทบด้านอื่นๆในคนไข้ที่ผ่าตัดถุงน้ำดีมาก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น