การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแผลเล็ก

การผ่าตัดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การผ่าตัดแนวใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือ "การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือ การผ่าตัดแผลเล็ก" เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่เปิดแผลขนาดเล็กเพื่อสอดเครื่องมือและกล้องเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการรักษาแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหาที่จะตามมาหลังการผ่าตัด อาทิเช่น การปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด ทานอาหารได้ช้า เคลื่อนไหวหรือลุกเดินได้ลำบาก ปอดแฟบ แผลแยก ไปจนถึงปัญหาระยะยาวเช่น การเกิดผังผืดหรือลำไส้อุดตัน Minimal Invasive Surgery [ MIS ] is the new era of surgery for patients and surgeons. The benefits of the minimal invasive surgery are far beyond the traditional surgery.

5/22/2557

วิธีวินิจฉัย มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก Colon & Rectal Cancer : Diagnosis

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ขั้นตอนมาตราฐาน 
ขั้นตอนเหล่านี้ทำโดยแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และบ่งชี้ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง รวมถึงขอบเขตการกระจายของมะเร็ง


  1. ประวัติและการตรวจร่างกายทั่วไป
  2. ตรวจทางทวารหนัก (PR) จะช่วยบอกลักษณะ ขนาด และการลามออกนอกผนังของมะเร็งในทวารหนักได้ดี
  3. การส่องกล้องตรวจทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย  ได้แก่ Anoscopy, Proctoscopy, Sigmoidoscopy  การตรวจด้วยกล้องต่าง ๆ เหล่านี้ ใช้ตรวจก้อนที่อยู่ลึกจากปากทวารเข้าไปและสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา รวมถึงแยกโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับมะเร็ง  (แต่การตรวจกล้องเหล่านี้ไม่สามารถตรวจลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด) 
  4. การสวนแป้งเอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่  (Ba enema) ใช้ร่วมกับ การส่องกล้องในข้อ 3 เพื่อตรวจสภาพลำไส้ใหญ่ทั้งหมด  และเพื่อตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่อาจมีอยู่ด้วย เป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อการผ่าตัด


  5. การส่องกล้องตรวจทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และส่วนต้นทั้งหมด หรือ  Colonoscopy  วิธีนี้ใช้ตรวจหาก้อนมะเร็งและโรคอื่นๆตลอดลำไส้ใหญ่ได้   ( อาจใช้แทนการตรวจข้อ 3 และ ข้อ 4 )         การตรวจโดยกล้อง colonoscope ต้องมีการเตรียมลำไส้ให้สะอาด อาจต้องใช้ยาสลบหรือยาแก้ปวดช่วยขณะทำการส่องกล้อง
  6. การเอ็กซเรย์ปอดและตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ( liver functions : LFT ) เป็นการหาการ กระจายของมะเร็งไปสู่ปอดและตับ 
  7. การตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) จำเป็นต้องทำก่อนผ่าตัดเสมอในรายที่เป็นมะเร็งของทวารหนัก ซึ่งการผ่าตัดอาจทำให้มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระในภายหลัง ในรายที่ก้อนมะเร็งอยู่สูงกว่าระดับ ทวารหนักอาจอนุโลมให้ไม่ต้องมีผลการตรวจชิ้นเนื้อก่อนผ่าตัดได้

 การตรวจพิเศษ 
การตรวจเหล่านี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในด้านการกระจายของโรค มีประโยชน์ในการพิจารณาเพื่อให้การรักษาด้วยวิธีอื่นที่เสริมการผ่าตัด และเพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการรักษา


  1. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) ของตับ : ช่วยบอกการกระจายของมะเร็งในเนื้อตับได้ดีกว่า การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ
  2. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทางลำไส้ Endo-rectal ultrasonography ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตการลุกลามของก้อนมะเร็งออกนอกผนังของทวารหนักและการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
  3. การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT-scan )ให้ข้อมูลในด้านการลุกลามของโรคเข้าอวัยวะภายใน เช่น อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ตับ ปอด ได้ดีกว่าการทำเอกซเรย์ธรรมดา
  4. การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้  Carcino embryonic antigen (CEA) การตรวจหาค่า CEA ในเลือดมีประโยชน์ในการติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยที่ก้อนมะเร็งผลิตสาร CEA   ถ้ามะเร็งไม่กระจายระดับของ CEA ควรลดลงหลังการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก  การตรวจหาสารมะเร็งชนิด CA 19-9 ให้ผลคล้ายกันแต่ไม่ไวเท่า CEA


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น