การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแผลเล็ก

การผ่าตัดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การผ่าตัดแนวใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือ "การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือ การผ่าตัดแผลเล็ก" เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่เปิดแผลขนาดเล็กเพื่อสอดเครื่องมือและกล้องเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการรักษาแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหาที่จะตามมาหลังการผ่าตัด อาทิเช่น การปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด ทานอาหารได้ช้า เคลื่อนไหวหรือลุกเดินได้ลำบาก ปอดแฟบ แผลแยก ไปจนถึงปัญหาระยะยาวเช่น การเกิดผังผืดหรือลำไส้อุดตัน Minimal Invasive Surgery [ MIS ] is the new era of surgery for patients and surgeons. The benefits of the minimal invasive surgery are far beyond the traditional surgery.

6/03/2566

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง การผ่าตัดผ่านกล้อง สามารถใช้ผ่าตัดโรคใดได้บ้าง

 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง

Laparoscopic Surgery / Endoscopic Surgery / Minimally Invasive Surgery

ตอน    การผ่าตัดผ่านกล้อง สามารถใช้ผ่าตัดโรคใดได้บ้าง

      การผ่าตัดผ่านกล้อง สามารถใช้เป็นการผ่าตัดรักษา โรคในช่องท้อง และช่องปอดได้แทบทั้งหมด เหมือนการผ่าตัดแบบเปิด โดยเฉพาะในการผ่าตัดในช่องปอด เพราะการผ่าตัดผ่านกล้องไม่จำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้อ และแหวกช่องระหว่างซี่โครง ซึ่งการผ่าตัดแบบแผลเปิดจะเจ็บแผลกว่ามาก

ตัวอย่างโรคในช่องท้อง ที่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้ คือ    ไส้ติ่งอักเสบ    นิ่วในถุงน้ำดีและท่อน้ำดี    ไส้เลื่อน    โรคอ้วน    กรดไหลย้อนรุนแรง    ลำไส้อุดตันจากผังผืดรัด    ลำไส้และทางเดินอาหารทะลุจากสิ่งแปลกปลอม    ลำไส้กลืนกัน   

เนื้องอกและมะเร็งของ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร  ตับ  ไต  ตับอ่อน  ม้าม  ต่อมลูกหมาก  ต่อมหมวกไต  มดลูก  และ รังไข่

ตัวอย่างโรคในช่องปอด  ที่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้ คือ   เนื้องอกของปอด    ปอดแตกจากถุงลมโป่งพอง    โพรงหนองในช่องปอดเรื้อรังจากการติดเชื้อ   เนื้องอกต่อมไทมัส

    นอกจากนี้ยังสามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ทำให้ไม่มีแผลเป็นที่คอ


ภาพการผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้อง


ภาพการผ่าตัดซ่อมไส้เลื่อนผ่านกล้อง 

โดยภาพแรกจะเห็นรูของไส้เลื่อน  และ  ภาพที่สองเป็นการซ่อมรูเปิดของไส้เลื่อนโดยการวางแผ่นตาข่ายปิดลงไป

  แสดงการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง

  แสดงการผ่าตัด ตับกลีบขวาผ่านกล้อง

                  

                   ภาพแสดงผู้ป่วยโรคอ้วน ก่อน และหลังผ่าตัด 


        เตรียมการผ่าตัดผ่านกล้อง



                     
 ก่อนผ่าตัดก้อนของต่อมไทรอยด์        หลังผ่าตัดผ่านกล้องตัดก้อน                    ของต่อมไทรอยด์                         จะพบว่าไม่มีแผลเป็นที่คอ
                                                                                         



                      ภาพที่เห็นขณะผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้อง

 

     


                   ภาพแสดงการผ่าตัดปอด โดยตัดปอดออกบางส่วนผ่านกล้อง



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง การตัดสินใจของคนไข้ควรเลือก การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแบบเปิดแผล อย่างไหนจะดีกว่ากัน

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง

Laparoscopic Surgery / Endoscopic Surgery / Minimally Invasive Surgery

ตอน    การตัดสินใจของคนไข้ควรเลือก การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแบบเปิดแผล อย่างไหนจะดีกว่ากัน

     เป็นคำถามที่พบบ่อยๆ  คำตอบคือ สำหรับการรักษาในโรคเดียวกันนั้น การผ่าตัดทั้งสองแบบได้ผลการรักษาที่ไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกวิธีผ่าตัดรักษา ขึ้นกับสถานการณ์ และสถานพยาบาลนั้นๆว่ามีความพร้อมหรือไม่ เพราะการผ่าตัดผ่านกล้องไม่ได้สามารถทำได้ทุกโรงพยาบาล และบางโรงพยาบาลยังมีปัญหาความไม่พร้อมทั้งด้านเครื่องมือ และบุคลากรผู้ช่วยผ่าตัด  แต่ถ้าอยู่ในสถานที่ที่พร้อมจะทำการผ่าตัดทั้งสองแบบ การผ่าตัดผ่านกล้องมีข้อดีกว่าหลายประการ ทั้งในด้านการฟื้นตัวหลังผ่าตัดดีกว่า เจ็บแผลน้อยกว่า มีโอกาสเกิดผังผืดในช่องท้องที่อาจทำให้ลำไส้อุดตันในภายหลังได้น้อยกว่า และแผลผ่าตัดเล็กกว่าผ่าตัดแบบเปิดมาก ทำให้มีผลดีในแง่ของความสวยงามเพราะแผลเป็นไม่ใหญ่ และดูไม่น่าเกลียด

   การผ่าตัดแบบเปิดมีข้อดีตรงที่เป็นการผ่าตัดที่ทำกันอย่างแพร่หลายในทุกๆโรงพยาบาล ใช้เครื่องมือตามมาตราฐานเดิมที่โรงพยาบาลมีอยู่ได้ ทีมผู้ช่วยผ่าตัดมีความคุ้นเคยกับการผ่าตัดแบบนี้อยู่แล้ว สามารถทำได้ทุกเวลา แม้เป็นการผ่าตัดแบบฉุกเฉินก็สามารถทำได้ แต่มีข้อเสียคือแผลผ่าตัดใหญ่ เจ็บแผลมากกว่า และใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้

  ส่วนการผ่าตัดผ่านกล้อง แม้จะมีข้อดีกว่า แต่ต้องใช้อุปกรณ์การผ่าตัดที่ซับซ้อนกว่า ใช้อุปกรณ์จำนวนมากกว่า รวมทั้งแพทย์และทีมพยาบาลจำเป็นต้องมีความชำนาญในการผ่าตัดผ่านกล้อง ดังนั้นจะพบว่าปัญหาหลักของการไม่พร้อมในการทำผ่าตัดผ่านกล้องคือปัญหาที่เกิดจากทีมผ่าตัด และความพร้อมของอุปกรณ์การผ่าตัด ซึ่งจะพบว่า แม้แต่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆบางแห่งยังไม่สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องได้สำหรับการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่มานอกเวลาทำการในตอนกลางวัน จะทำได้เฉพาะในเวลางานปกติเท่านั้น

การผ่าตัดผ่านกล้องใช้ได้สำหรับการรักษาแทบจะทุกโรค ทุกอวัยวะภายในช่องท้อง และช่องปอด ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์การทำผ่าตัดของศัลยแพทย์นั้นๆ

  ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องที่แตกต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดที่ชัดเจนคือ มองเห็นบริเวณการผ่าตัดได้ละเอียดกว่า เพราะภาพวิดีโอจากการผ่าตัดผ่านกล้องที่ศัลยแพทย์มองขณะทำการผ่าตัด สามารถขยายขนาดการมองเห็นให้ขัดเจนกว่าการมองภาพปกติได้ตั้งแต่ 4 ถึง 16 เท่า ทำให้เห็นรายละเอียดของอวัยวะที่จะทำการผ่าตัดได้ดีขึ้น และกล้องผ่าตัดชนิดเห็นภาพสามมิติก็จะทำให้เห็นความชัดลึกของบริเวณผ่าตัดมากขึ้น ทำให้มีโอกาสประสพความสำเร็จในการทำผ่าตัดที่ซับซ้อนมากขึ้น และข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องที่ผู้ป่วยไม่ค่อยทราบกันอีกข้อหนึ่งก็คือ การผ่าตัดโดยมองภาพและทำผ่าตัดผ่านกล้องนั้น สัญญานภาพที่มาปรากฏให้เห็นบนทีวี  สามารถบันทึกภาพการผ่าตัดลงเป็นไฟล์ดิจิตอลได้และโรงพยาบาลมีหน้าที่เก็บไฟล์ที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานการผ่าตัดที่ละเอียดได้ตลอดทั้งการผ่าตัด เสมือนเก็บเวชระเบียนที่เกี่ยวกับการผ่าตัด ดังนั้นหลักฐานการผ่าตัดที่ได้จะมีประโยชน์สำหรับการเรียนรู้วิธีการผ่าตัด ใช้สำหรับทบทวนการผ่าตัด เมื่อการผ่าตัดนั้นมีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ก็สามารถกลับมาทบทวนวิธีการผ่าตัดได้ ศัลยแพทย์บางท่าน หรือบางโรงพยาบาลก็อาจคัดลอกไฟล์ผ่าตัดให้กับผู้ป่วยไว้เป็นข้อมูลเผื่อเวลาที่ผ่านไปบางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง หรืออาจต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้งไม่ว่าจะเป็นโรคเดิมหรือโรคอื่น ก็สามารถใช้ทบทวนการผ่าตัดที่เคยทำไปแล้ว เพื่อช่วยวางแผนการผ่าตัดครั้งต่อไปว่ามีข้อควรระวังที่อวัยวะตำแหน่งไหนเป็นพิเศษหรือไม่   และมีประโยชน์อีก ในกรณีที่การผ่าตัดยากหรือมีปัญหาใดเกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์ก็สามารถใช้วิดีโอบันทึกภาพการผ่าตัดนี้อธิบายแก่ผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจโดยเห็นภาพจริงของการผ่าตัดเพื่อป้องกันปัญหาความไม่เข้าใจ หรือคลางแคลงใจในผลการรักษา หรือวิธีการผ่าตัด อันจะทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างแพทย์ และผู้ป่วย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง การผ่าตัดผ่านกล้องเหมือนกัน รักษาโรคเดียวกัน แต่ในผู้ป่วยแต่ละคนถึงมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดไม่เท่ากัน

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง

Laparoscopic Surgery / Endoscopic Surgery / Minimally Invasive Surgery

ตอน   การผ่าตัดผ่านกล้องเหมือนกัน รักษาโรคเดียวกัน แต่ในผู้ป่วยแต่ละคนถึงมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดไม่เท่ากัน

  การอธิบายความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดนั้นมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่

         ความทนต่อความเจ็บปวดของคนแต่ละคนไม่เท่ากัน บาดแผลเหมือนกัน บางคนเจ็บมาก บางคนก็เจ็บน้อยกว่า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย

         ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด โดยรวมแล้วจะเจ็บที่แผลผ่าตัดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะทำผ่าตัดภายในมาก หรือน้อย แต่แผลที่ใหญ่กว่าจะมีความเจ็บปวดแผลมากกว่า

        การผ่าตัดมีหลายแผล มักจะเจ็บมากกว่า แผลผ่าตัดแผลเดียว ดังนั้น การผ่าตัดแบบ Single Port Surgery จะมีผลให้มีความเจ็บแผลหลังผ่าตัด น้อยกว่า Multiple Port Surgery

        การผ่าตัดที่ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยกว่า และใช้เครื่องมือสัมผัสเนื้อเยื่ออย่างเบาๆ จะมีความชอกช้ำของเนื้อเยื่อน้อยกว่า ทำให้ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่าด้วย

      อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า การผ่าตัดผ่านกล้องจะมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดมาก แต่เทคนิคการผ่าตัดและเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดก็เป็นปัจจัยที่เป็นผลต่อความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเช่นกัน

  การผ่าตัดในโรคเดียวกัน ก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละระยะของโรค และต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน   มีวิดีโอแสดงภาพการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบเปรียบเทียบกันหลายๆแบบให้ดูว่า ไส้ติ่งอักเสบในแต่ละระยะของโรค การผ่าตัดก็มีความยากง่ายต่างกัน  

ดูวีดีโอ ตัวอย่างได้ที่   https://youtu.be/qr-LMSP0B8U


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง การผ่าตัดผ่านกล้อง คืออะไร ?

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง

Laparoscopic Surgery / Endoscopic Surgery / Minimally Invasive Surgery

ตอน   การผ่าตัดผ่านกล้อง คืออะไร ?

การผ่าตัดผ่านกล้อง คือ การผ่าตัดที่ใช้การเจาะเปิดแผลเล็กๆ เพื่อทำการผ่าตัดรักษา โดยใส่กล้องช่วยการผ่าตัดที่ปริเวณส่วนปลายอุปกรณ์ผ่าตัดจะมีกล้องวิดีโอความละเอียดสูง ถ่ายทอดภาพมีขึ้นบนจอทีวี ให้ศัลยแพทย์เห็นเพื่อทำการผ่าตัดรักษา และใช้เครื่องมือผ่าตัดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 cm เพื่อเข้าไปทำการผ่าตัดแทนมือของศัลยแพทย์ ผลที่ได้คือแผลมีขนาดเล็กมาก ไม่มีการตัดส่วนของกล้ามเนื้อ ทำให้หลังผ่าตัดจะเจ็บแผลน้อยลงกว่าการผ่าตัดเปิดแบบเดิมมาก จึงสามารถฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้เร็วขึ้น สามารถกลับบ้าน ใช้ชีวิตประจำวันและกลับไปทำงานตามปกติได้ในเวลาไม่กี่วัน

                          


  


 ตำแหน่งของการใส่เครื่องมือช่วยการผ่าตัดก็ขึ้นกับโรคที่ทำการผ่าตัดรักษา โดยอาจมีตั้งแต่แผลเล็กแผลเดียว เรียกว่า Single Port Surgery หรือจนถึงอาจมีรอยเจาะขนาด 0.5 cm อีก 2-3 แห่ง เรียกว่า Multiple Port Surgery

  ศัลยแพทย์ที่จะทำผ่าตัดผ่านกล้องได้ต้องได้รับการฝึกการผ่าตัดผ่านกล้องมาก่อนจึงจะมีความสามารถทำผ่าตัดประเภทนี้ได้ ดังนั้นการผ่าตัดผ่านกล้องของศัลยแพทย์แต่ละคนก็จะทำผ่าตัดได้ไม่เท่ากันขึ้นกับความชำนาญและประสบการผ่าตัดผ่านกล้องมามากน้อยเท่าใด




5/31/2566

โรคอ้วน ( MORBID OBESITY )

 

โรคอ้วน ( MORBID OBESITY )

ในสังคมปัจจุบันเราจะพบผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น อาจเป็นจากการรับประทานอาหารกลุ่มแคลอรี่สูง และขาดการออกกำลัง ทำให้โรคอ้วนกำลังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยขึ้น ผลสุดท้ายผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีโอกาสมีโรคแทรกซ้อนตามมาในภายหลังมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ

   โรคอ้วนอาจเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารมากเกินไป หรือทานอาหารกลุ่มให้พลังงานสูงติดต่อกันเป็นประจำ เช่นอาหารกลุ่มแป้ง ไขมัน และของหวาน หรืออาจเกิดจากความผิดปกติทำให้มีการสะสมไขมันมากเกินไป หรือหิวตลอดเวลา

   คำจำกัดความของโรคอ้วน ใช้พิจารณาจาก เกณฑ์ที่เรียกว่า ดัชนีมวลกาย  BMI ( Body Mass Index ) มาเป็นตัวชี้วัด  โดยBMI คำนวณได้จาก น้ำหนักตัว Kg. หารด้วย ส่วนสูง m. ยกกำลังสอง

     ค่า BMI       23  -  24.9   เริ่มถือว่าน้ำหนักเกิน

25 -  29.9   อ้วนระดับ 1

> 30          อ้วนระดับ 2

ยิ่งมีค่าดัชนีมวลกายมาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น  โรคข้อเข่าเสื่อม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดดำอุดตันที่ขา กรดไหลย้อน ภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะนอนหลับ นอกจากนี้ก็ยังเกิดความลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเสียบุคลิก

   ในการพิจารณาให้การรักษาโรคอ้วนนั้นขึ้นอยู่กับค่าของดัชนีมวลกาย และโรคร่วม แต่โดยหลักการแล้ว ขั้นตอนแรกของการรักษา คือเริ่มต้นด้วยการพยายามลดน้ำหนักโดยการควบคุมด้วยตัวเองก่อน ไม่ว่าจะโดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพราะการทำนายผลของการผ่าตัด ว่าจะได้ผลดีมากเท่าไหร่ ขึ้นกับการควบคุมของผู้ป่วยเองด้วยในภายหลังการผ่าตัด เพราะถ้าผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร รวมทั้งรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน อาจทำให้น้ำหนักหลังผ่าตัดลดลงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักที่ลดลงแล้วมักจะไม่กลับไปมากเท่ากับก่อนการผ่าตัด

      การรักษาโรคอ้วนนั้น ไม่ว่าจะใช้วิธีผ่าตัดแบบใดก็ตาม มีหลักการคือ

1.   1 ทำให้ลดปริมาณอาหารที่ทานลงไป

2.   2ทำให้อาหารที่ทานลงไป เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารส่วนที่ทำการย่อยและดูดซึมไปให้เร็วที่สุด

การรักษาโรคอ้วน มีได้หลายวิธี ตั้งแต่

-            การใส่บอลลูน ลงไปในกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้พื้นที่ความจุของกระเพาะอาหารลดลง

-            การใส่เข็มขัดรัดกระเพาะอาหาร เพื่อให้มีจำกัดปริมาตรของกระเพาะอาหาร

-            การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหาร

-            การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านระบบการย่อยไปได้เร็วขึ้น

ซึ่งวิธีการรักษาแต่ละชนิดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด รวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือในการปฏิบัตตัวของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดร่วมด้วยจึงจะทำให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด ดังนั้นการให้การผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันได้                                 

 ตัวอย่างรูปแบบการผ่าตัดชนิดต่างๆ



    ในปัจจุบัน วิธีการผ่าตัดรักษามีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ บางวิธีก็อาจหมดความนิยม หรือเลิกทำไปแล้ว บางวิธีก็ยังนิยมใช้ในการรักษาอยู่ แต่ทุกวิธีก็มีหลักการเหมือนกัน คือ

1.   1  การลดขนาดกระเพาะอาหารลงให้เหลือประมาณ 15 %

2.   2  การผ่าตัดเพื่อเบี่ยงทางเดินอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านระบบการย่อยไปได้เร็วขึ้น การผ่าตัดเพื่อเบี่ยงทางเดินอาหารมีได้หลายแบบ รวมทั้งยังมีหลายเทคนิคในการผ่าตัดชนิดเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกำหนดมาตราฐานลงไปได้ว่าวิธีไหนดีที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับตัวผู้ป่ายและความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดแต่ละคน จึงต้องทำความเข้าใจร่วมกันเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด ในบางครั้งผู้ป่วยควรต้องหาความเห็นที่ สอง หรือ สาม จากแพทย์ผู้สามารถทำการผ่าตัดชนิดนี้ได้ ว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุด แล้วค่อยตัดสินใจเข้ารับการรักษา

   การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนปัจจุบันเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก โดยเทคนิคของการผ่าตัดก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก อันตรายจากโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมักเกิดจากโรคร่วมของผู้ป่วยเองหรือการเตรียมตัวผ่าตัดได้ไม่พร้อมพอ  แต่ผลที่ได้จากการผ่าตัดจะได้ประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่า ทั้งในแง่ของความคล่องตัวของผู้ป่วย หรือในกรณีที่มีโรคร่วมเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม นอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับ  หลังผ่าตัด อาการของโรคร่วมพวกนี้จะดีขึ้นมาก จนอาจไม่ต้องใช้ยารักษาเลย

  ในกรณีกลับกันถึงแม้ว่า ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจะพบได้ไม่มาก แต่เมื่อพบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดก็อาจมีความรุนแรงมากกว่าในคนที่น้ำหนักปกติ ซึ่งมักใช้เวลาในการรักษาภาวะแทรกซ้อนนานขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะพบได้มักเป็นรอยรั่วของตำแหน่งการตัดเย็บกระเพาะอาหาร หรือมีการตีบแคบของกระเพาะอาหาร ซึ่งการรักษามักขึ้นกับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนนั้น จนบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอีกครั้ง

      ดังนั้นการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน จะต้องศึกษาข้อดี ข้อเสียของการผ่าตัดโดยละเอียดเสียก่อน ค่อยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดรักษา  โดยต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาถึงอัตราความสำเร็จของการผ่าตัด ผลที่ได้รับ ความเสี่ยงของการผ่าตัด รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้างจากการผ่าตัด เมื่อได้รายละเอียดทั้งหมดแล้วจึงค่อยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดรักษา

                                              ภาพผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษา

                                                           ก่อนผ่าตัด




หลังผ่าตัด




 สามารถขอปรึกษารายละเอียดการรักษาได้โดยตรงที่ แผนกผ่าตัด-ผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี 074-801900 ต่อ2101  หรือ 0816980088

 

5/27/2566

นิ่วในถุงน้ำดี มียารักษา หรือหายเองได้ไหม

 

Q & A  ถาม - ตอบ ปัญหานิ่วในถุงน้ำดี

ถาม  --  นิ่วในถุงน้ำดี มียารักษา หรือหายเองได้ไหม

ตอบ  --  นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการตกตะกอนของน้ำดี ทำให้ส่วนประกอบของนิ่วมีความแตกต่างกันในแต่ละคน แต่ถ้าในผลึกของนิ่วมีส่วนประกอบของแคลเซี่ยม หรือหินปูนเจือปนมักไม่สามารถละลายหรือหายไปเองได้แต่มักจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หรือมีจำนวนมากขึ้น

 

                                                ภาพตัวอย่างของนิ่วในถุงน้ำดีแบบต่างๆ

 

                

                                        ภาพถุงน้ำดีอักเสบที่มีนิ่วอยู่ภายในถุงน้ำดี

n  กรณีที่นิ่วเกิดจากการรวมตัวเป็นผลึกที่เกิดจากไขมันเพียงอย่างเดียว อาจสามารถใช้ยาบางชนิดช่วยให้นิ่วค่อยๆละลายไปเองได้ นิ่วชนิดนี้จะพบได้น้อย  ส่วนใหญ่แล้วนิ่วมักมีส่วนประกอบของหินปูนปนอยู่ด้วย ทำให้ไม่สามารถละลายได้

n  กรณีที่นิ่วเกิดจากปัจจัยที่ทำให้มีความเข้มข้นของน้ำดีมากผิดปกติ ในบางครั้ง ภาพเอกซเรย์อาจแปลผลว่าตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของน้ำดีในกรณีนี้ ที่พบได้บ่อยคือหลังจากการได้รับยาฆ่าเชื้อ ceftriaxone  ดังนั้นในกรณีที่เคยได้รับยาฆ่าเชื้อ ceftriaxone มาไม่นานแล้วตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดี อาจสามารถรอติดตามอาการได้ จะพบว่าเมื่อหยุดให้ยาไม่นานเมื่อตรวจเอกซเรย์ซ้ำอาจตรวจไม่พบนิ่วอีกได้

n  ดังนั้นนิ่วในถุงน้ำดีที่ตรวจพบ มักไม่สามารถหายเองได้ และไม่มียารักษา ถ้าทิ้งไว้ส่วนใหญ่มักมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือมีจำนวนที่มากขึ้น รวมทั้งอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเกิดขึ้นตามมาในภายหลังได้ จึงควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยการผ่าตัดเอานิ่วและถุงน้ำดีออกเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยที่พบนิ่วในถุงน้ำดี สามารถขอปรึกษารายละเอียดการรักษาได้โดยตรงที่ แผนกผ่าตัด-ผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี 074-801900 ต่อ2101  หรือ 0816980088


ถาม - ตอบ การผ่าตัดรักษานิ่วในถุงน้ำดีมีความเสี่ยงมากไหม ?

 

Q & A  ถาม - ตอบ  การผ่าตัดรักษานิ่วในถุงน้ำดีมีความเสี่ยงมากไหม ?

 การผ่าตัดรักษานิ่วในถุงน้ำดี คือ การตัดเอาถุงน้ำดีออก ไม่สามารถเอาแต่นิ่วออกเพียงอย่างเดียวได้ ซึ่งการผ่าตัดจะมีสองแบบ คือการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้เป็นทางเลือกอันดับแรกเพราะจะเจ็บแผลผ่าตัดมากกว่า และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดมากกว่า และจะมีที่ใช้คือการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยเช่นเกิดการอักเสบเป็นหนองหรือถุงน้ำดีแตก หรือมีการอุดตันท่อน้ำดีร่วมด้วย กับการผ่าตัดรักษาอีกแบบหนึ่ง คือ การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งในปัจจุบันเป็นการรักษาผ่าตัดแบบมาตรฐานสำหรับรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี โดยการผ่าตัดผ่านกล้องจะมีแผลเล็กๆขนาด 1.5 ซม.ที่สะดือ แผลเดียว หรืออาจมีแผลเล็กๆ ขนาด 0.5 ซม.อีกแผลที่บริเวณลิ้นปี่ในกรณีที่ทำผ่าตัดได้ยาก การผ่าตัดแบบนี้มีข้อดีคือเจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อย และฟื้นตัวเร็ว ใช้เวลานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงแค่ 1-2 วันก็สามารถกลับบ้านได้

                                 



  ภาพให้เห็นเปรียบเทียบ แสดงถึงการผ่าตัดโดยใช้กล้อง 3 D

              

                 เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้อง                      ภาพของแผลหลังการผ่าตัด ที่สะดือ ขนาด1.5 ซม.

 

   

 ภาพแสดงวิธีขณะทำผ่าตัดผ่านกล้องตัดถุงน้ำดี