ตรวจร่างกายอีกครั้ง ก่อนผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อคำนวนตำแหน่งปลอดภัยที่จะสอดกล้อง |
3 สัปดาห์ก่อน ได้รับอุบัติเหตุล้มรถจักรยานเสือภูเขา ไตขวาเกิดการฉีกขาดได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เอาไตด้านขวาออก หลังผ่าตัดผู้ป่วยกลับบ้านได้ตามปกติ จากนัั้นจึงเริ่มมีอาการทานไม่ได้ อาเจียน
การตรวจร่างกาย
รอยแผลผ่าตัดหน้าท้องยาวตั้งแต่บริเวณลิ้นปี่ถึงใต้สะดือ ประมาณ 1เซนติเมตร
ท้องแข็งตึง คลำได้ก้อนขอบเขตไม่ชัดเจนบริเวณท้องด้านขวาบน
การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
พบว่ามีเลือดคั่งในผนังลำไส้เล็กส่วนต้นจากอุบัติเหตุ ทำให้มีการอุดตันของทางเดินอาหาร
ภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์แสดงตำแหน่งที่มีการอุดตันของลำไส้ |
งดน้ำและอาหาร เพื่อลดการทำงานลำไส้ ลดอาการบวม เนื่องจากการมีเลือดคั่งในอวัยวะภายในจากอุบัติเหตุ ในบางรายสามารถดีขึ้นเองได้
1 สัปดาห์ต่อมาพบว่าอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยยังคงทานไม่ได้ และอาเจียน
การรักษาขั้นต่อไป
จำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไข เพื่อให้ผู้ป่วยทานอาหารได้ การผ่าตัดซ้ำในบริเวณที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อนค่อนข้างผ่าตัดยาก เนื่องจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมากขึ้น มีการบวมของเนื้อเยื่อโดยรอบ รวมถึงพังพืดในช่องท้อง และอาจต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น จึงเลือกการผ่าตัดเป็น
การผ่าตัดต่อกระเพาะอาหารกับลำไส้ ผ่านกล้องส่องช่องท้อง
[ Laparoscopic Gestrojejunostomy ] เป็นการช่วยให้อาหารผ่านจากกระเพาะไปยังลำไส้ส่วนที่
ไม่ได้รับอุบัติเหตุได้แทน โดยไม่ผ่านจุดที่มีเลือดคั่งอยู่ ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้คือ
แผลเล็ก ไม่รบกวนแผลผ่าตัดเดิม เสี่ยงต่อการเสียเลือดน้อย ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทานอาหารได้เร็วขึ้น และอยู่ในโรงพยาบาลลดลง
ตัวอย่างการผ่าตัดต่อกระเพาะอาหาร กับลำไส้ส่วน jejunum |
เตรียมการผ่าตัดโดยการดมยาสลบ ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ตำแหน่งที่สอดกล้องอยู่บริเวณสะดือ |
ภาพจากกล้องส่อง แสดงส่วนของกระเพาะอาหารที่จะนำมาต่อกับลำไส้เล็ก |
แพทย์ผ่าตัดยืนทางด้านซ้ายของลำตัวผู้ป่วย เป็นตำแหน่งที่เปิดกระเพาะและนำส่วนลำไส้เล็กมาต่อได้สะดวก
ผลการรักษา
|
นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 2 วัน
ติดตามหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยทานได้ดีขึ้น ไม่อาเจียน ไม่ปวดท้อง ไม่มีไข้