การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการผ่าตัดแผลเล็ก

การผ่าตัดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การผ่าตัดแนวใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือ "การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือ การผ่าตัดแผลเล็ก" เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่เปิดแผลขนาดเล็กเพื่อสอดเครื่องมือและกล้องเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการรักษาแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหาที่จะตามมาหลังการผ่าตัด อาทิเช่น การปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด ทานอาหารได้ช้า เคลื่อนไหวหรือลุกเดินได้ลำบาก ปอดแฟบ แผลแยก ไปจนถึงปัญหาระยะยาวเช่น การเกิดผังผืดหรือลำไส้อุดตัน Minimal Invasive Surgery [ MIS ] is the new era of surgery for patients and surgeons. The benefits of the minimal invasive surgery are far beyond the traditional surgery.

5/31/2566

โรคอ้วน ( MORBID OBESITY )

 

โรคอ้วน ( MORBID OBESITY )

ในสังคมปัจจุบันเราจะพบผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น อาจเป็นจากการรับประทานอาหารกลุ่มแคลอรี่สูง และขาดการออกกำลัง ทำให้โรคอ้วนกำลังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยขึ้น ผลสุดท้ายผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีโอกาสมีโรคแทรกซ้อนตามมาในภายหลังมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ

   โรคอ้วนอาจเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารมากเกินไป หรือทานอาหารกลุ่มให้พลังงานสูงติดต่อกันเป็นประจำ เช่นอาหารกลุ่มแป้ง ไขมัน และของหวาน หรืออาจเกิดจากความผิดปกติทำให้มีการสะสมไขมันมากเกินไป หรือหิวตลอดเวลา

   คำจำกัดความของโรคอ้วน ใช้พิจารณาจาก เกณฑ์ที่เรียกว่า ดัชนีมวลกาย  BMI ( Body Mass Index ) มาเป็นตัวชี้วัด  โดยBMI คำนวณได้จาก น้ำหนักตัว Kg. หารด้วย ส่วนสูง m. ยกกำลังสอง

     ค่า BMI       23  -  24.9   เริ่มถือว่าน้ำหนักเกิน

25 -  29.9   อ้วนระดับ 1

> 30          อ้วนระดับ 2

ยิ่งมีค่าดัชนีมวลกายมาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น  โรคข้อเข่าเสื่อม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดดำอุดตันที่ขา กรดไหลย้อน ภาวะนอนกรน และหยุดหายใจขณะนอนหลับ นอกจากนี้ก็ยังเกิดความลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเสียบุคลิก

   ในการพิจารณาให้การรักษาโรคอ้วนนั้นขึ้นอยู่กับค่าของดัชนีมวลกาย และโรคร่วม แต่โดยหลักการแล้ว ขั้นตอนแรกของการรักษา คือเริ่มต้นด้วยการพยายามลดน้ำหนักโดยการควบคุมด้วยตัวเองก่อน ไม่ว่าจะโดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพราะการทำนายผลของการผ่าตัด ว่าจะได้ผลดีมากเท่าไหร่ ขึ้นกับการควบคุมของผู้ป่วยเองด้วยในภายหลังการผ่าตัด เพราะถ้าผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร รวมทั้งรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน อาจทำให้น้ำหนักหลังผ่าตัดลดลงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักที่ลดลงแล้วมักจะไม่กลับไปมากเท่ากับก่อนการผ่าตัด

      การรักษาโรคอ้วนนั้น ไม่ว่าจะใช้วิธีผ่าตัดแบบใดก็ตาม มีหลักการคือ

1.   1 ทำให้ลดปริมาณอาหารที่ทานลงไป

2.   2ทำให้อาหารที่ทานลงไป เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารส่วนที่ทำการย่อยและดูดซึมไปให้เร็วที่สุด

การรักษาโรคอ้วน มีได้หลายวิธี ตั้งแต่

-            การใส่บอลลูน ลงไปในกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้พื้นที่ความจุของกระเพาะอาหารลดลง

-            การใส่เข็มขัดรัดกระเพาะอาหาร เพื่อให้มีจำกัดปริมาตรของกระเพาะอาหาร

-            การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหาร

-            การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านระบบการย่อยไปได้เร็วขึ้น

ซึ่งวิธีการรักษาแต่ละชนิดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด รวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือในการปฏิบัตตัวของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดร่วมด้วยจึงจะทำให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด ดังนั้นการให้การผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันได้                                 

 ตัวอย่างรูปแบบการผ่าตัดชนิดต่างๆ



    ในปัจจุบัน วิธีการผ่าตัดรักษามีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ บางวิธีก็อาจหมดความนิยม หรือเลิกทำไปแล้ว บางวิธีก็ยังนิยมใช้ในการรักษาอยู่ แต่ทุกวิธีก็มีหลักการเหมือนกัน คือ

1.   1  การลดขนาดกระเพาะอาหารลงให้เหลือประมาณ 15 %

2.   2  การผ่าตัดเพื่อเบี่ยงทางเดินอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านระบบการย่อยไปได้เร็วขึ้น การผ่าตัดเพื่อเบี่ยงทางเดินอาหารมีได้หลายแบบ รวมทั้งยังมีหลายเทคนิคในการผ่าตัดชนิดเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกำหนดมาตราฐานลงไปได้ว่าวิธีไหนดีที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับตัวผู้ป่ายและความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดแต่ละคน จึงต้องทำความเข้าใจร่วมกันเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด ในบางครั้งผู้ป่วยควรต้องหาความเห็นที่ สอง หรือ สาม จากแพทย์ผู้สามารถทำการผ่าตัดชนิดนี้ได้ ว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุด แล้วค่อยตัดสินใจเข้ารับการรักษา

   การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนปัจจุบันเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก โดยเทคนิคของการผ่าตัดก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก อันตรายจากโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมักเกิดจากโรคร่วมของผู้ป่วยเองหรือการเตรียมตัวผ่าตัดได้ไม่พร้อมพอ  แต่ผลที่ได้จากการผ่าตัดจะได้ประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่า ทั้งในแง่ของความคล่องตัวของผู้ป่วย หรือในกรณีที่มีโรคร่วมเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม นอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับ  หลังผ่าตัด อาการของโรคร่วมพวกนี้จะดีขึ้นมาก จนอาจไม่ต้องใช้ยารักษาเลย

  ในกรณีกลับกันถึงแม้ว่า ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจะพบได้ไม่มาก แต่เมื่อพบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดก็อาจมีความรุนแรงมากกว่าในคนที่น้ำหนักปกติ ซึ่งมักใช้เวลาในการรักษาภาวะแทรกซ้อนนานขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะพบได้มักเป็นรอยรั่วของตำแหน่งการตัดเย็บกระเพาะอาหาร หรือมีการตีบแคบของกระเพาะอาหาร ซึ่งการรักษามักขึ้นกับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนนั้น จนบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอีกครั้ง

      ดังนั้นการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน จะต้องศึกษาข้อดี ข้อเสียของการผ่าตัดโดยละเอียดเสียก่อน ค่อยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดรักษา  โดยต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาถึงอัตราความสำเร็จของการผ่าตัด ผลที่ได้รับ ความเสี่ยงของการผ่าตัด รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้างจากการผ่าตัด เมื่อได้รายละเอียดทั้งหมดแล้วจึงค่อยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดรักษา

                                              ภาพผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษา

                                                           ก่อนผ่าตัด




หลังผ่าตัด




 สามารถขอปรึกษารายละเอียดการรักษาได้โดยตรงที่ แผนกผ่าตัด-ผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี 074-801900 ต่อ2101  หรือ 0816980088

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น